เที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
เมืองลุง แหล่งชุมชนโบราณ

แวะไหว้ ศาลหลักเมืองพัทลุง เสริมสิริมงคล ขอพรใจกลางเมือง อนุสรเเห่งแรงศรัทธาอันแรงกล้าของชาวจังหวัดพัทลุง และประชาชนทั่วไป

 นำทาง

ศาลหลักเมืองพัทลุง ซึ่งเกิดขึ้นด้วยแรงศรัทธาอันแรงกล้าของชาวจังหวัดพัทลุง และประชาชนทั่วไป  ที่ร่วมกันบริจาคทรัพย์สมทบทุนการก่อสร้างจำนวน กว่า ๑๒ ล้านบาท มอบหมายให้  รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติสาขาสถาปัตยกรรม เป็นผู้ออกแบบการก่อสร้างมีการลงนามในสัญญาและเริ่มการก่อสร้างมาตั้งแต่วันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ และ ณ บริเวณวัดควนปรง หมู่ที่ ๒ ตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมืองพัทลุง  ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จจนถึงปัจจุบัน ตามพงศาวดารได้มีการกล่าวถึงความเป็นมาของการสร้างเสาหลักเมืองของชนชาติไทย ปรากฏมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา  กรุงธนบุรี มาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์  การสร้างหลักเมืองตามประเพณีโบราณ  นิยมสร้างหลักเมืองไว้เป็นมิ่งขวัญ  เป็นนิมตมงคล สำหรับให้รู้ว่าหลักบ้าน  หลักเมืองอยู่ที่ไหน  ประชาชนบ้านเมืองนั้นย่อมร่มเย็นเป็นสุข  เพราะมีเทพรักษาเมือง  ได้แก่ พระทรงเมือง พระเสื้อเมือง เทวดา และเทพารักษ์ ทั้งหลาย  หลักเมืองต้องฝังไว้ในย่านกลางเมืองหรือให้ทำเลที่ชัยภูมิตามทิศทางของเมืองและในสมัยโบราณ เมืองเอกหรือเมืองชั้นราชธานีจะต้องมีหลักเมืองไว้เป็นนิมิตมงคลสำหรับเมืองทุกเมือง  เมืองพัทลุงเป็นเมืองโบราณที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน แม้จะเคยมีหลักเมืองเป็นศูนย์กลางของเมืองมาก่อน แต่เนื่องจากมีการย้ายที่ตั้งหลายครั้ง  ทำให้หลักฐานเกี่ยวกับหลักเมืองไม่ชัดเจน  แม้จะมีร่องรอยอยู่บ้าง  เช่นโคกบางแก้ว เมืองเก่าชัยบุรี และเมืองเก่าบ้านลำปำ  ซึ่งชำรุดผุพังไปตามกาล  หลังจากย้ายเมืองพัทลุงไปตั้งที่อื่นในแต่ละครั้ง  และครั้งสุดท้ายย้ายมาอยู่ที่ตำบลคูหาสวรรค์  เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๖ ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งเมืองพัทลุงในปัจจุบัน ก็ยังไม่มีการสร้างศาลหลักเมืองแต่อย่างใด  อย่างไรก็ตาม  เมื่อปี  พ.ศ. ๒๕๓๘ – ๒๕๓๙ ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงในขณะนั้น คือนายประสิทธิ์  พรรณพิสุทธิ์  และหัวหน้าส่วนราชการ มาถึง ปี ๒๕๕๓  นายวินัย  ครุวรรณพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ในฐานะลูกหลานชาวพัทลุงและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน  ได้ดำเนินการจัดสร้างศาลหลักเมืองพัทลุงขึ้นอีกครั้ง  จึงได้ประชุมคณะทำงานจัดหาสถานที่ มีมติเป็นเอกฉันท์เลือกสถานที่บริเวณวัดควนปรง หมู่ที่ ๒ ตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมืองพัทลุง เป็นสถานที่ที่มีทำเลเหมาะสม อยู่บริเวณเนินสูง สวยงาม เส้นทางคมนาคมสะดวก และเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในอดีต