นำทาง

บ้านหนังตา-ลุง (กลุ่มแกะรูปหนังตะลุงหน้าถ้ำพระเขาชัยสน ตั้งอยู่ที่ 107 หมู่ที่ 3 ต.เขาชัยสน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง 93210 ความเป็นมา “หนังตะลุง”เป็นคำเรียกขานการแสดงพื้นบ้านที่นิยมแพร่ หลายทั่วไปในภาคใต้ แสดงโดยการเชิดตัวหนังให้เคลื่อนไหวกิริยาให้เข้ารับบทพากย์ ผูกเรื่องให้สนุกสนาน สะท้อนสังคม การเมือง เดิมการแกะหนังตะลุงเป็นการแกะเพื่อใช้สำหรับการแสดงมหรสพพื้นบ้านโดยเฉพาะ รูปที่แกะส่วนมาก คือตัวที่ใช้ในการแสดงเช่น ตัวฤาษี ตัวพระ ตัวนาง หนูนุ้ย เท่ง ทอง เป็นต้น ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเพื่อให้เหมาะกับการนำเป็นของขวัญของฝากที่ ใช้สำหรับแขวนผนัง รูปที่ใช้จึงเปลี่ยนไปส่วนใหญ่นิยมใช้รูปในวรรณคดี เช่นพระรามนางสีดา หนุมาน นางฟ้า เทวดี ครุฑ ภาพทิวทัศน์ บุคคลสำคัญ เป็นต้น  เชื่อกันว่าหนังตะลุงเกิดขึ้นครั้งแรกที่บ้านควนมะพร้าวอำเภอเมืองฯ จังหวัดพัทลุง โดยมีตาหนูนุ้ย และตาหนักทอง ได้เป็นผู้คิดนำหนังวัวมาแกะเป็นรูปและเชิดเล่าเรื่องราวพูดคุยกันโดยใช้เสา หลักซึ่งใช้ล่ามช้าง ที่เรียกว่า “ตะลุง” เป็นเสาโรงหนัง จึงได้เรียกว่า“หนังตะลุง”มาจนทุกวันนี้ บางตำนานก็เรียกว่าหนังตา หนังลุง เพราะเกิดจากการเล่นหนังของตาหนูนุ้ยตาหนักทองดังกล่าว เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์ เป็นการบ่งบอกถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานที่มีถิ่นกำหนด ในจังหวัดพัทลุง มีความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นภาคใต้ มีความวิจิตรงดงามประณีต ความสัมพันธ์กับชุมชน กลุ่มแกะรูปหนังตะลุงหน้าถ้ำพระไม่เพียงแต่จะเป็นกลุ่มอาชีพที่ผลิตสินค้า ที่มีคุณภาพออกสู่ชุมชนเท่านั้นกลุ่มยังได้ฝึกหัดอาชีพให้กับผู้ที่สนใจ เพื่อนำไปประกอบอาชีพ และได้เป็นวิทยากรให้ความรู้กับประชาชนที่เข้ามาศึกษาดูงานจากสถานที่ต่างๆ ขั้นตอนการผลิต การผลิตรูปหนังตะลุงในขั้นตอนการผลิตดั้งเดิมกับปัจจุบันไม่ต่างกันมากนักจะ มีก็แต่รูปแบบและการเพิ่มสีสันลงไป หรืออาจจะมีการสร้างรูปแบบมาตรฐานไว้และสามารถสำเนาไว้ใช้ได้หลาย ๆ ครั้ง เป็นการประหยัดเวลาในการสร้างแบบ โดยไม่ต้องวาดรูปใหม่การผลิตรูปหนังตะลุงยังไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสมัย ใหม่เข้ามา เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้ความประณีตจากช่างฝีมือที่ชำนาญการ เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต กำหนดชิ้นงานที่จะผลิตว่าต้องการจะทำอะไร ก็หาหนังที่เหมาะสมกับชั้นงานนั้นๆ ก็จะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความงดงาม และที่สำคัญคือต้องอาศัยความอดทน และความประณีต